TKP HEADLINE

ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


 ประเภทแหล่งเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ชื่อแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นายแสงเลิศ กงซุย


ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

กศน.ตำบลโพนสูง สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอไชยวาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล กศน.ตำบลโพนสูงได้ทำ MOU กับ ศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นายแสงเลิศ กงซุย ใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประจำ กศน.ตำบล ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ของ กศน.ตำบลโพนสูง อ่านเพิ่มเติม...

ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของผู้ไท

 


ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของผู้ไท

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งทางสังคม และเศรษฐกิจ เนื่องจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เกิดขึ้นจากความรอบรู้ ประสบการณ์ แนวคิดที่สังคม หรือชุมชนได้ถ่ายทอด สืบสานต่อกันมา ด้วยคนไทยแต่โบราณ มีภูมิปัญญาฉลาดล้ำลึก ในการประดิษฐ์คิดค้น สร้างสรรค์ เพื่อใช้ประโยชน์ จากสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสุขกาย สบายใจ โดยเฉพาะภูมิปัญญาด้านปัจจัยพื้นฐาน แห่งการดำรงชีพ ประกอบด้วยความสามารถ ในการแสวงหาอาหาร การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย การคิดค้นประดิษฐ์สิ่งทอ เพื่อการนุ่งห่ม และความรู้ในการบำบัดรักษา โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง นับแต่อดีตดำรงค์ อยู่ได้อย่างสุขสงบ สืบถึงปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม...

หลงเสน่ห์ผ้าลายพันมหาบ้านสะงวย


 หลงเสน่ห์ผ้าลายพันมหาบ้านสะงวย

ชื่อกลุ่ม กลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านสะงวย หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองหลัก อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

ประวัติผ้าลายพันมหา ณ บ้านสะงวย หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองหลัก อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี มีพี่น้องสองคน คือคุณยายเป้า อดทนพี่สาวและคุณยายจันทา รูปทน น้องสาว ทั้งสองประกอบอาชีพทอผ้าเป็นอาชีพเสริมมีชื่อเสียงในเรื่องการทอผ้าที่สวยงามและหลากหลายรูปแบบ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ มีพระภิกษุรูปหนึ่งคือพระญาณวิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาทิพย์ เจ้าคณะอำเภอหนองหานฝ่ายธรรมยุตในปัจจุบันได้เดินทางมาพบสองพี่น้องคู่นี้เพื่อให้ทอผ้าให้โดยท่านเขียนลายผ้าใส่กระดาษมาให้ดูเป็นแบบในการทอ สองพี่น้องถามว่า ชื่อลายอะไร ลายสวยดี ท่านตอบว่ามาหาสองพี่น้องตั้งหลายครั้งแล้วกว่าจะได้เจออุปมาเป็นพันครั้งจึงขอตั้งลายผ้านี้ว่าลาย “พันมาหา” ก็แล้วกัน เมื่อเรียกกันต่อๆมาจึงเพี้ยนเป็นลาย “พันมหา” อ่านเพิ่มเติม...

หมอดินอาสา


 หมอดินอาสาดีเด่น

การจัดการดินและน้ำในการเกษตร


นายทวีป สังกา

หมอดินประจำหมู่บ้าน

บ้านคำเลาะ หมู่ที่ 1 ตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

นายทวีป สังกา เป็นเกษตรกรที่มีความสนใจในด้านการเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่งานพัฒนาที่ดินและอาสาที่จะเป็นตัวแทนประจำหมู่บ้าน และตำบลซึ่งได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งให้เป็นหมอดินอาสา โดยยึดหลักการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อ่านเพิ่มเติม...


วัดกู้แก้วรัตนารา


 ประวัติวัดกู่แก้วรัตนยาราม(หลวงปู่กู่แก้ว)

“ โคพื้นเมือง ปลานิลลือเลื่อง เมืองอ้อยหวาน เที่ยวงานส่งกู่ เพียปู่เมืองโบราณ ”

วัดกู่แก้ววิ บ้านเพียปู่ หมู่ 8 ตำบล ไชยวาน อำเภอ ไชยวาน จังหวัด อุดรธานี วัดกู่แก้ว เป็นวัดสังกัด มหานิกาย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลไชยวาน ทางด้านทิศ ตะวันออก ของ ที่ว่าการอำเภอไชยวาน ประมาณ 2.5 กิโลเมตร วัดกู่แก้ว ถือได้ว่าเป็นดินแดนอารยะธรรม ที่ล้ำค่าอีกแห่งหนึ่ง ของจังหวัดอุดรธานี วัดกู่แก้วมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน เมื่อประมาณ ร.ศ 101 ได้พบบันทึกจากรอยจารึก ไว้ในใบเสมา ความว่า มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง มีชื่อว่า พระอาจารย์ อุ่ม ได้เดินธุดงค์มาจาก ภูรังกา จังหวัด นครพนม เมื่อก่อนนั้นบริเวณที่ตั้งวัดแห้งนี้ เป็นป่าดงดิบมีสัตว์ร้ายอาศัยอยู่มากมาย ใครหลัดหลงเข้าไป ส่วนมากไม่ค่อยมีชีวิตรอดกลับมาได้ พระอาจารย์ อุ่ม เป็นผู้ค้นพบหลังฐานซากปรักหักพัง ของวัดร้างแห่งนี้ และ ได้ เกณฑ์ชาวบ้านใน ละแวกนั้น ช่วยกันบูรณะก่อตั้งเป็นวัดขึ้นมาใหม่ (คือวัดกู่แก้วในปัจจุบัน)  อ่านเพิ่มเติม...

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอไชยวาน เมืองแห่งความสุข


 แหล่งท่องเที่ยวอำเภอไชยวาน เมืองแห่งความสุข

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอไชยวาน เมืองแห่งความสุข

ในประเทศไทยของเรามีสถานที่ท่องเที่ยว ในแต่ละจังหวัดและแต่ละอำเภอมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามมากมาย ตำบลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยว ประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ได้แก่ วัดสันติกาวาส สวนสาธารณะหนองไชยวาน และสวนดอกไม้บ้านไร่ฟาร์ม อ่านเพิ่มเติม...

วัดโพธิ์ศรีทุ่ง


 ประวัติวัดโพธิ์ศรีทุ่ง

เมื่อตั้งหมู่บ้านประมาณปี พ.ศ. 2373 คณะผู้นำหมู่บ้านได้กำหนดขอบเขตสถานที่ตั้งวัดชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันสร้างพระปางทรงสี่เหลี่ยมยอดตัดขึ้นหนึ่งองค์ ไม่มีหลักฐานยืนยันการสร้างเพื่อสิ่งใดและไม่มีทางเข้าออกจะมีเป็นช่องกระจกกลมๆหันหน้าไปทางทิศตะวันออกอยู่ส่วนบุญขององค์และสถูป (ชาวบ้านเรียกว่า อูป ) ประดิษฐานหลวงพ่อทองคำและเป็นที่จำวัตรของ ญาคู หลักคำแต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อวัดไว้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางพุทธศาสนา และประเพณีที่สืบทอดกันมา ในปีพ.ศ. 2400 ปรากฏหลักฐานการตั้งชื่อวัด เนื่องจากสถานที่ตั้งวัดมีต้นโพธิ์จำนวนสองต้นภายในวัด จึงได้ตั้งชื่อว่า “วัดโพธิ์ศรี” อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพชุมชนต้นแบบด้านเกษตรกรรม

 


ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพชุมชนต้นแบบด้านเกษตรกรรม

เจ้าของสถานที่ นายดำรงค์ เบ้าทอง

ที่ตั้ง 35 หมู่ 7 ตำบลสุมเส้า อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

ประโยชน์ของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันที่มาและความสำคัญ

นายดำรงค์ เบ้าทอง ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ไม่ได้มีงานประจำทำ จึงได้มาเข้าร่วมอบรมการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ แล้วทำการทดลองปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จนกระทั่งมีคนมาติดต่อขอซื้อพันธุ์กิ่งมะนาวจึงเกิดแรงบันดาลใจในการทำการเกษตร หลังจากนั้นนายดำรงค์ ได้มาเข้าร่วมอบรมในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการทำปุ๋ยดิน จึงเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเอง พอผลผลิตมากก็มีการแจกเพื่อนบ้าน และจำหน่าย โดยการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน และประสบผลสำเร็จในการทำอาชีพเกษตรกรและเป็นศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลสุมเส้า อ่านเพิ่มเติม...

ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี


ทะเลบัวแดง 
ตั้งอยู่ในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี อยู่ในบึงน้ำจืด บึงหนองหาน แหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไป ด้วย พันธุ์ปลา พันธุ์นก และพืชน้ำ จำนวนมาก โดยดอกบัวจะออกดอกมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และค่อย ๆ ลดปริมาณลงในเดือนมีนาคม ดอกบัวจะบานในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลาประมาณ 11.00 น. นักท่องเที่ยวจะมองเห็นดอกบัวแดง บานเต็มท้องน้ำ หนองหานสุดลูกหูลูกตางดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า ทะเลบัวแดง ซึ่งในทุกปีนักท่องเที่ยว สามารถความงดงามของทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนธันวาคม จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี มีงานเทศกาลทะเลบัวแดงบาน หนองหานกุมภวาปี ณ วัดบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี อ่านเพิ่มเติม...


ล่องแพวังใหญ่


 ประวัติความมา

อำเภอวังสามหมอ ได้ก่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังสามหมอ เมื่อ พ.ศ. 2518 และได้รับยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2524 นาม“ วังสามหมอ ” มาจากตำนานที่ว่า มีจระเข้ใหญ่ตัวหนึ่ง ได้หลงกลืนร่างธิดาของเจ้าเมืองท่าขอนยางและกลัวความผิดจึงหนีการตามล่ามาอาศัยอยู่ที่วังน้ำใหญ่ของลำน้ำพันชาด พอเจ้าเมืองได้ข่าวจึงให้หมอจระเข้พอเจ้าเมืองได้ข่าวจึงให้หมอจระเข้มาปราบจระเข้ตัวนี้ โดยให้หมอผู้มีเวทย์มนต์มาทำพิธี แต่หมอจระเข้ 2 คนแรกสู้พญาจระเข้ไม่ได้จนต้องสังเวยชีวิต เพราะการที่ใช้หมอจระเข้ถึง 3 คนนี้เอง วังน้ำแห่งนี้ จึงถูกตั้งชื่อว่า “ วังสามหมอ ” และถูกนำมาใช้เป็นชื่ออำเภอในที่สุด อ่านเพิ่มเติม...

ผลิตภัณฑ์จากต้นคล้า (กระเป๋าคลัตช์)

 


ลิตภัณฑ์จากต้นคล้า (กระเป๋าคลัตช์)

โดย นางยุพิน แก่นนาคำ

เกิดวันที่ 19 เดือน มกราคม พ.ศ. 2506

อายุ 59 ปี

บ้านเลขที่ 182/9 บ้านโนนสะอาด ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี 41310

เบอร์โทรติดต่อ 081-0477825 , 0904096575 อ่านเพิ่มเติม...

อ่างน้ำพาน มรดกแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ

 


อ่างน้ำพาน มรดกแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ

ข้อมูลทั่วไปอำเภอสร้างคอม

ลักษณะที่ตั้ง อำเภอสร้างคอม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุดรธานีเป็นระยะทาง ๖๘ กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๖๓๒ กิโลเมตร อำเภอสร้างคอม แต่เดิมเป็นบ้านสร้างคอม ชื่อ“ต้นคอม” ต้นคอมมีลักษณะเป็นเถาวัลย์ใบมนสีเขียว ลำต้น กิ่งก้าน มีหนาม ผลกลมเล็กเกิดอยู่ริมบ่อน้ำเมื่อตั้งหมู่บ้านขึ้นชาวบ้านได้ขุดบ่อน้ำข้างจอมปลวกและมีต้นคอมขึ้นอยู่ริมบ่อน้ำ(ส่าง) ชาวบ้านจึงเรียก ชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านส่างคอม” ภายหลังเขียนเป็นสร้างคอม บ้านสร้างคอม ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๑ – ๒๔๔๒ แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นหัวหน้าตั้งชื่อ ทราบแต่เพียงว่าชาวบ้านที่มาตั้งอยู่บ้านสร้างคอม ได้ย้ายมาจากบ้านบ่อใต้ซึ่งมีวัดเรียกชื่อว่า “วัดเหล่าต้อง” หรือ “วัดบ่อใต้” ขณะนี้ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดช้างเผือก” อยู่ทางทิศตะวันออก ของอำเภอสร้างคอม บ้านบ่อใต้อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ทิศตะวันตกของวัดซึ่งเป็นบ้านสร้างคอมในปัจจุบัน และชาวบ้านสร้างแป้นได้ย้ายมาสมทบรวมกันขึ้นเป็นหมู่บ้านเดียวกัน บ้านสร้างแป้นห่างจากบ้านสร้างคอมประมาณ ๑๐ เส้นอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีวัดปรากฏอยู่ ปัจจุบันได้บูรณะขึ้นใหม่และชาวบ้านนิยมเรียก วัดสามัคคีบำเพ็ญผลว่า “วัดสร้างแป้น” บ้านบ่อใต้และบ้านสร้างแป้นปัจจุบันเป็นทุ่งนาไปหมดแล้วคงเหลือแต่วัดทั้งสองปรากฏอยู่ อ่านเพิ่มเติม...

ปั้นหม้อเขียนสีลายบ้านเชียง

 


ปั้นหม้อเขียนสีลายบ้านเชียง

วิถีหัตถศิลป์และภูมิปัญญาของชาวบ้านเชียง

ที่บ้านเชียงยังมี กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี เป็นที่ผลิตภาชนะดินเผาและเขียนสีตามแบบอย่างภาชนะดินเผาของบ้านเชียงโบราณ มีแบบและลวยลายต่างๆ มากกว่า 100 ลายเช่นลายก้นหอย ลายตะขอ ลายเรขาคณิต ลายเชือกทาบฯลฯ โดยแต่ละรูปทรงและลวดลายจะบ่องบอกถึงยุคสมัยของอารยะธรรมบ้านเชียง กลุ่มปั้นหม้อเขียนสี นอกจากนอกจากผลิตภาชนะดินเผาเขียนสีแล้ว ยังมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองเขียนสีลงบนภาชนะดินเผาขนาดจิ๋วเลียนแบบลายบ้านเชียงอีกด้วย ปัจจุบันมี นายชาตรี ตะโจปะรัง เป็นผู้จัดตั้งฐานเรียนรู้กลุ่มปั้นหม้อเขียนสีลายบ้านเชียง หมู่ที่ ๑๓ ลานวัฒนธรรมตำบลบ้านเชียง อ่านเพิ่มเติม...

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

 


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

ชื่อแหล่งท่องเที่ยว

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง หมู่ที่ ๑๓ ถนนสุทธิพงษ์ ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ๔๑๓๒๐

โทรศัพท์ : ๐๔๒-๒๓๕ ๐๔๐-๑

สถานที่ ที่ตั้ง (พิกัด) ของแหล่งท่องเที่ยว

https://www.google.com/maps/place place/พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ+บ้านเชียง/@17.40723,103.2351394,18z อ่านเพิ่มเติม...

การแปรรูปอาหารจากปลา


การแปรรูปอาหารจากปลา

วิถีชีวิตของชาวชนบท จะมีการพึ่งพาอาสัยธรรมชาติในการดำรงชวิต ในเขตอำเภอวังสามหมอซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลจากตัวจังหวัดอุดรธานี โดยอยู่ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 96 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 1.30 ชั่วโมง โดยประชาชนชาวอำเภอวังสามหมอส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม พื้นที่ด้านทางทิศเหนือของอำเภอจะเป็นที่ราบสูง ส่วนใหญ่จะทำไร่ เช่น สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสันปะหลัง อ้อย เป็นต้น ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศใต้จะที่ติดกับลำน้ำปาว อ่านเพิ่มเติม...

 

วัดป่าภูก้อน


 วัดป่าภูก้อน

พุทธสถานท่ามกลางธรรมชาติ แหล่งรวมศรัทธาสุดงดงามประจำจังหวัดอุดรธานี

วัดป่าภูก้อน ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายูงน้ำโสม ในเขตบ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นรอยต่อแผ่นดิน 3 จังหวัดคือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย กำเนิดขึ้นจากการดำริชอบของพุทธบริษัททั้งสี่ ผู้ตระหนักถึงคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติและป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่งกำลังถูกทำลาย อ่านเพิ่มเติม...

กลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่



 กลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

ประชาชนบ้านดงยางน้อย ส่วนใหญ่เกือบทุกหลังคาเรือนจะสานกระติบข้าวไว้ใช้ในครัวเรือน มีการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย สืบทอดมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึง วิถีชีวิตของคนในชุมชน จนทำให้การสานกระติบข้าวเป็นรายได้เสริมของครอบครัว การรวมกลุ่มกันของคนชุมชน ที่มีความรู้ ความชำนาญ อ่านเพิ่มเติม...

พิธีบวงสรวงองค์ท้าวเวสสุวรรณ วัดโพธิ์นิมิตร

 


วัฒนธรรมประเพณี พิธีบวงสรวงองค์ท้าวเวสสุวรรณ วัดโพธิ์นิมิตร

บ้านห้วยเกิ้ง ตำบลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ในท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อธิบดีแห่งอสูรเป็นเทพผู้ปกครองผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา คุ้มครองโลกมนุษย์และเจ้าแห่งทรัพย์ ที่ชาวจีนนับถือเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ หรือ   ไฉ่ซิงเอี้ย ท้าวเวสสุววรณ ในพระพุทธศาสนาเรียกท้าวไพสพ ซึ่งเป็นอธิบดีแห่งอสูรเจ้าแห่งภูตผีปีศาจนั่นเอง อ่านเพิ่มเติม...


ประเพณี "บุญคูณลาน"หรือการสู่ขวัญข้าวของชาวอีสาน


 ประเพณี "บุญคูณลาน"หรือการสู่ขวัญข้าวของชาวอีสาน

คำว่า "คูณ"หมายถึง เพิ่ม หรือทำให้มากขึ้น ส่วนคำว่า "ลาน"คือ สถานที่กว้างๆ สำหรับนวดข้าว ซึ่งการนำข้าวที่นวดแล้วกองขึ้นให้สูง เรียกว่า "คูณลาน" สำหรับประเพณีบุญคูณลานจัดขึ้นในเดือนยี่ตามปฏิทินอีสานของทุกปี ทำให้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่างาน "บุญเดือนยี่"ซึ่งการทำบุญคูณลานของแต่ละพื้นที่จะไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าจะเสร็จเมื่อไร วันที่จะขนข้าวขึ้นเล้า (ฉางข้าว) จะเป็นวันทำบุญคูณลานและทำที่นานั่นเลย อ่านเพิ่มเติม...

ผลิตภัณฑ์จากต้นคล้า


 ผลิตภัณฑ์จากต้นคล้า ผลผลิตที่สวยงามจาก

อำเภอประจักษ์ศิลปาคม

รายละเอียดของผู้ประกอบอาชีพ

การจักสาน เป็นงานหัตถกรรมอย่างหนึ่ง และนับเป็นงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ได้ด้วย วัสดุที่ใช้ในงานจักสาน มักเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ หวาย ปอ กระจูด คล้า เป็นต้น ต้นคล้าจัดเป็นไม้ล้มลุกหรือเป็นไม้ยืนต้นที่มีเนื้ออ่อน เจริญเติบโตขึ้นเป็นพุ่มหรือเป็นกอและมีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งแบบตั้งตรงและเป็นแบบเลื้อย มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน สามารถแตกหน่อได้ ลำต้นกลมเป็นสีเขียวเข้มออกเป็นข้อ ๆ และมีข้อปล้องยาว หากรวมทั้งก้านและใบจะมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 2-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อปลูก พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในที่เป็นน้ำหรือเป็นโคลนตามริมคลอง อ่านเพิ่มเติม...

วัดภูตะเภาทอง

 


วัดภูตะเภาทอง

ประวัติ

นายโสพล อินนำคา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านหนองแวงชุมพล ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า วัดภูตะเภาทอง ปัจจุบันมีพระครูเขม กาญจโนภาส (สุพรรณ) เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์ 5 รูป สามเณร 1 รูป เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย เป็นพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้จัดตั้งวัดอย่างถูกต้องกว่า 15 ไร่ พื้นที่ส่วนมากเป็นลานหิน ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่า เดิมเป็นทะเล ต่อมาเกิดการยกตัวขึ้นเป็นลานหินและพื้นดิน คาดว่าจะมีกลุ่มคนผู้เลี้ยงสัตว์ หรือนายพรานใช้เป็นเส้นทางในการหากิน เนื่องจากมีการพบรอยฝ่ามือคนข้างหินก้อนใหญ่ ปัจจุบันเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพียง 4 เดือน โดยก่อนหน้านี้ วัดแห่งนี้จะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวบ้านและเป็นแหล่งศึกษาดูงานของคนต่างพื้นที่ ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีจุดเด่นที่มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ “พญานาคราชสีทอง” ชื่อมุจลินท์  อ่านเพิ่มเติม...

ผ้าขิดไหมทอมือ แม่สุนา

 


ผ้าขิดไหมทอมือ แม่สุนา

แม่สุนา ศรีบุตรโคตร เกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2488 อายุ 77 ปี สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองวัวซอ

ได้รับรางวัลครูศิลป์ของแผ่นดินปี 60. สตรีดีเด่น ประเภทสรรหา ปี 2564 สมาคมสภาตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูประถัมถ์ อ่านเพิ่มเติม...


วัดศรีดาราม บ้านคำสีดา


 แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

วัดศรีดาราม หมู่ที่ ๓ ตำบลนาชุมแสง อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี
เป็นอีกแหล่งพุทธบูชาสิ่งลี้ลับของพญานาค ที่ชาวบ้านคำสีดา ให้ความศรัทธาและมีความเชื่อว่า พญานาคให้ความอุดมสมบูรณ์แก่หมู่บ้าน น้ำในสระไม่เคยแห้ง เพราะมีน้ำพุดขึ้นมาจากบ่อ ขึ้นมาเรื่อยๆ ทำให้น้ำในสระไม่เคยแห้ง โดยผู้คนมากราบไหว้ และฝันว่ามีพญานาคยาวจากท้ายหนองมาถึงวัด โดยมีคุณหมอคริต ชาวบ้าน และผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันสร้างองค์พญานาคขึ้นมา ซึ่งมีขนาดใหญ่ มีความยาว ๑๓๑ เมตร
คำขวัญ บ้านคำสีดา
" คำสีดา แดนศักดิ์สิทธิ เนรมิต แหล่งน้ำคู่บ้าน ศาลเจ้าคำสีดา นำพาสู่ความสามัคคีร่มเย็น " อ่านเพิ่มเติม...

พระศรีมหาธาตุ แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของเมืองบ้านธาตุ

 


พระศรีมหาธาตุ แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของเมืองบ้านธาตุ

“พระศรีมหาธาตุ แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของเมืองบ้านธาตุ”

แผ่นศิลาจารึก เป็นภาษาขอม ทางเข้าประตูทางทิศใต้ ทางพระอุโบสถ ก่อนที่ชาวบ้านได้ใช้ดินและปูน ฉาบทาปิดไปนั้น ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นปีที่รัฐบาลได้ประกาศพัฒนาภาคอีสานเป็นครั้งแรก โดยได้พัฒนาตำบลบ้านธาตุ เป็นบ้านแรก รัฐบาลในช่วงนั้น เป็นรัฐบาลทหาร มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ จอมพลประภาส จารุเสถียร นำทหารหน่วย น.พ.ค. เร่งพัฒนาอันดับแรกนั้น ได้พัฒนาแหล่งน้ำ คือหนองหัวแตก ได้สร้างทำนบกักน้ำไว้ให้ราษฎรได้ใช้ และได้ตั้งชื่อหนองหัวแตกนั้นใหม่ว่า #หนองศรีเจริญ อ่านเพิ่มเติม...

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดอุดรธานี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand